สุดอลังการ! รอบชิงชนะเลิศ ‘Jinbu Cup’ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567

โครงการประกวดแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567″ รอบชิงชนะเลิศ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุม A-B โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร โดย โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมก้าวหน้า อาจารย์ไห่ หยาง, สถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย, และ สหพันธ์การศึกษาเส้นทางสายไหมจีน-ไทย ร่วมด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.), และ สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคีเครือข่ายทางการศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศร่วม 31 หย่วยงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตจีน และ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ประจำกรุงเทพฯ รวมทั้งมีบริษัท ออล ซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด All Seasons Property Co., Ltd. เป็นสปอนเซอร์หลักในการจัดกิจกรรมครั้งนี้

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Prof. Xu Lan ที่ปรึกษาด้านการศึกษา แห่งสถานเอกอัคราชทูตจีน ประจำประเทศไทย
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Ms. Zhao Xin รองผู้อำหวนวยการศูนย์วัฒนธรรมจีน กรุงเทพ
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
จากซ้ายไปขวา: Dr. Han Shenlong ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , Ms. Zhao Xin รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ประจำกรุงเทพฯ , Prof. Xu Lan ที่ปรึกษาด้านการศึกษา แห่งสถานเอกอัคราชทูตจีน ประจำประเทศไทย , อาจารย์สุมิตรา ทองแสง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา ผ็แทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย, อาจารย์ไห่ หยาง ผู้อำนวยการ(ฝ่ายไทย)สถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย และ Prof. Zhang Yuexing ผู้อำนวยการสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ คณบดีวิทยาลัยการศึกษาทางทะเลนานาชาติ Zhejiang Ocean University

สำหรับโครงการ Jinbu Cup ครั้งที่ 6 นี้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่รอบคัดเลือก ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม 2567 – 20 พฤศจิกายน 2567 โดยมีทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ได้รับการประกาศผลเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567

การแข่งขัน Jinbu Cup ครั้งที่ 6 นี้ได้รับการสนับสนุนหลักจากหน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ All Seasons Property Co., Ltd., Sichuan Polytechnic University และ Zhejiang Ocean University

โดยหน่วยงานความร่วมมือจาก 31 หน่วยงานทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน ซึ่งประกอบไปด้วยภาครัฐและเอกชนมีดังนี้

  1. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  3. โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ก้าวหน้า อาจารย์ไห่ หยาง
  4. สถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย
  5. สหพันธ์การศึกษาเส้นทางสายไหมจีน-ไทย
  6. สถาบันขงจื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  7. All Seasons Property Co., Ltd.
  8. Sichuan Polytechnic Universtiy
  9. Zhejiang Ocean University
  10. คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  12. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  13. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
  14. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  15. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย
  16. วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต
  17. วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  18. สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  19. สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี
  20. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  21. Beijing Language and Culture University Press
  22. China University of Mining and Technology
  23. Hainan Tropical Ocean University
  24. Jiangsu University
  25. Qujing Normal University
  26. Shanghai Ocean University
  27. Tianjin University
  28. Tianjin University of Finance and Economic
  29. Zhejiang Chinese Medical University
  30. Zhejiang University of Finance and Economics
  31. Zhejiang Yuexiu University
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
นางสุมิตรา ทองแสง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา ผู้แทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสินร่วมเป็นหน่วยงานร่วมจัดโครงการประกวดแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Assoc. Prof. Dr. Han Shenglong ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสินร่วมเป็นหน่วยงานร่วมจัดโครงการประกวดแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Prof. Zhang Yuexing ผู้อำนวยการสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ คณบดีวิทยาลัยการศึกษาทางทะเลนานาชาติ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงโอเชียนได้รับเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสินร่วมเป็นหน่วยงานร่วมจัดโครงการประกวดแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Ms. Du Yining ผู้อำนวยการสถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ให้การสนับสนุนเป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Dr.Jiaping Liu อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาจีน ผู้แทนคณะครุศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้ให้การสนับสนุนเป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ รักธรรม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้การสนับสนุนเป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
ดร.สุพจน์ ไทยสุริยะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ได้ให้การสนับสนุนเป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ดร.พิชยพันธุ์ ชาญภูมิดล รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้การสนับสนุน เป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์ ดร. นันทิยา ดวงภุมเมศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การสนับสนุน เป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูรดา เซี่ยงจ๊ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก (ภาษาจีน) คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้การสนับสนุน เป็นหน่วยงานร่วมจัดการแข่งขันทักษะภาษา วัฒนธรรมจีน และวิชาชีพ ประเทศไทย (Jinbu Cup)

อาจารย์ไห่ หยาง ผู้อำนวยการสถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย ได้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีเปิดงาน “Jinbu Cup” ครั้งที่ 6 โดยเน้นถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในไทยและจีนกว่า 31 แห่ง ที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนให้กับเยาวชนไทย ซึ่งตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีเยาวชนกว่า 10,000 คนที่ได้รับประโยชน์จากเวทีนี้ พร้อมย้ำวัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ การยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาจีน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพในการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตจริง​

ในช่วงพิธีเปิดงาน อาจารย์สุมิตรา ทองแสง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา ผู้แทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยเน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะภาษาและวัฒนธรรมจีนในยุคโลกาภิวัตน์ พร้อมกล่าวว่า “สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมนี้ ซึ่งเป็นเวทีที่ช่วยพัฒนาเยาวชนไทยให้มีศักยภาพทางด้านภาษาจีนและวิชาชีพ เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกยุคใหม่ ดิฉันขอชื่นชมและยกย่องสถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งไทยและจีนที่ร่วมสร้างโอกาสอันทรงคุณค่านี้ให้แก่เยาวชนไทยทุกคน”

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
อาจารย์สุมิตรา ทองแสง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา ได้กล่าวเปิดงาน

โดยการแข่งขันในปีนี้แบ่งออกเป็น 6 ประเภทที่สะท้อนถึงการพัฒนาทักษะที่สำคัญ ได้แก่

  • การแข่งขันร้องและเต้นประกอบเพลงจีนกลาง ของระดับชั้นประถมศึกษา
  • การแข่งขันการแสดงศิลปะวัฒนธรรมจีน ของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • การพูดนำเสนอในหัวข้อ “ภาษาจีน เปิดประตู… สู่โลกยุคใหม่” ของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • การออกแบบดีไซน์ของที่ระลึกสินค้าไทย เพื่อยกระดับสู่สากล ของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • การออกแบบคู่มือท่องเที่ยวฉบับพกพา สำหรับนักท่องเที่ยว FIT (Free Individual Traveler) ของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • การแข่งขันในบทบาท Influencer นำเสนอสินค้าจีน ของระดับอุดมศึกษา

การแข่งขันทั้งหมดนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 2,500 คน ทั้งในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศจากทั่วประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จและการตอบรับอย่างล้นหลามจากเยาวชนไทย

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขันของระดับประถมศึกษา
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขันของระดับมัธยมต้น
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขันของระดับมัธยมปลาย
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขันของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขันของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขันของระดับอุดมศึกษา

ในช่วงพิธีปิด ดร. รังสรรค์ เทพมนตรี ในนามผู้แทนเลขาธิการ สำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การอาชีวศึกษาต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดงานว่า “กระผมขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเวทีพัฒนาทักษะภาษาและวัฒนธรรมจีน แต่ยังส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิชาชีพที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ ขอขอบคุณทุกหน่วยงานทั้งไทยและจีนที่ร่วมสร้างโอกาสนี้ให้กับเยาวชนไทย”

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ดร. รังสรรค์ เทพมนตรี ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การอาชีวศึกษาต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวปิดพิธี

สำหรับการแข่งขัน Jinbu Cup 5 ครั้งที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและความสำคัญในฐานะเวทีส่งเสริมทักษะภาษาและวัฒนธรรมจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยในแต่ละปีมุ่งเน้นเป้าหมายที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการในยุคสมัย ดังนี้

ครั้งที่ 1 (พฤษภาคม 2563)

การแข่งขันครั้งแรกถูกจัดขึ้นในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยมาในรูปแบบ ออนไลน์ผ่าน Zoom ภายใต้หัวข้อการประกวดร้องเพลงจีน “กำลังใจจากเรา สู่นักรบชุดขาว” กิจกรรมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจแก่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19

ครั้งที่ 2 (กันยายน 2563)

การแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นในโอกาส วันคล้ายวันเกิดของขงจื่อ ครบ 2,572 ปี โดยเป็นการประกวดเขียนบทความเพื่อรำลึกถึงปรัชญาและคุณค่าของขงจื่อ ที่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อการศึกษาในยุคปัจจุบัน

ครั้งที่ 3 (กันยายน 2564)

การแข่งขันครั้งนี้ยังคงอยู่ในรูปแบบ ออนไลน์ผ่าน Zoom ท่ามกลางข้อจำกัดจากสถานการณ์โควิด-19 โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย, และอุดมศึกษา กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศ

ครั้งที่ 4 (ตุลาคม 2565)

การแข่งขันครั้งที่ 4 เป็นการกลับมาจัดงาน ในรูปแบบออนไซต์ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยเพิ่มระดับการแข่งขันให้ครอบคลุม 7 ระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

ครั้งที่ 5 (พฤศจิกายน 2566)

ครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนภาษาจีนในทุกระดับการศึกษา รวมถึงการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนทักษะและประสบการณ์ที่ก้าวไกลกว่าเดิม การแข่งขันในปีนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การแข่งขันการแสดงศิลปวัฒนธรรมจีน, การร้องและเต้นเพลงจีน, และการพากย์ภาพยนตร์หรือการ์ตูน (ภาษาจีน)

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
การแข่งขัน Jinbu Cup ครั้งที่ 5

การแข่งขัน Jinbu Cup ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนเยาวชนไทยให้พัฒนาศักยภาพด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน รวมถึงทักษะวิชาชีพในระดับนานาชาติ กิจกรรมนี้ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขัน แต่ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถที่พร้อมจะนำพาเยาวชนไทยก้าวไปสู่อนาคต

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ทีมชนะเลิศระดับประถมศึกษา
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
โรงเรียนสุตะบำรุงพิทยาคาร ทีมชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ทีมชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ทีมชนะเลิศระดับประกาศนียบัตร (ปวช.)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ทีมชนะเลิศระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
มหาวิทยาลัยศิลปากร ทีมชนะเลิศระดับอุดมศึกษา

ประมวลภาพโครงการ Jinbu Cup ครั้งที่ 6

Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ดร.สุรัชดา เชิดบุญเมือง ตัวแทนจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้รับมอบเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสิน
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Mr. Li Hongfei ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสิน
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ดร.กัญจน์นิตา สุเชาว์อินทร์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับมอบเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสิน
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ผศ.ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับมอบเกียรติบัตรในการเป็นกรรมการตัดสิน
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
Jinbu Cup ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
ประมวลภาพ Jinbu Cup ครั้งที่ 6
Facebook
Twitter

คอนเทนต์ที่คุณน่าจะสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save