เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย (สช.) กับ Shantou University (STU) ได้ทำพิธีลงนามทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยคณะผู้บริหารโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมก้าวหน้า อ.ไห่ หยาง (Jinbu) ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย
โดยพิธีดังกล่าวได้จัดขึ้นที่ Shantou University รองอธิการบดีได้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี Shantou University ได้เข้าร่วมพิธีและลงนามแทนอธิการบดี นอกจากนั้น ผู้แทนจาก Li Ka Shing Foundation และ ผู้อำนวยการจะวิทยาลัยหลายแห่งของ Shantou University ได้เขาร่วมพิธี
นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการ สช. กล่าวในพิธีว่า ที่ผ่านมาทาง สช. กับ Jinbu ได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เลยทำให้ทาง สช. ได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย Shantou University อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้เมืองซ่านโถว Shantou ไม่เพียงแต่มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ยังมีมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง จีน – ไทย ในฐานะหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับสูงที่สำคัญของเมืองซ่านโถว มหาวิทยาลัยซ่านโถวถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในด้านการศึกษา
เลขาธิการ สช. กล่าวอีกว่า ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและมหาวิทยาลัยซ่านโถว จะนำโอกาสและการพัฒนาใหม่ ๆ มาสู่การศึกษาของทั้งสองประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองฝ่ายจะผลักดันและส่งเสริมพัฒนาความร่วมมือในอนาคตจนนำไปสู่โอกาสให้อุตสาหกรรมการศึกษา จีน-ไทย และมีส่วนสนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในจีนและไทยมากขึ้น พร้อมกับกล่าวขอบคุณ Jinbu สำหรับการดำเนินการต่าง ๆ ที่ทำให้การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้น โดยได้มอบหมายให้ Jinbu เป็นหน่วยงานประสานงานโครงการต่างๆ ต่อไป
นายไห่ หยาง ได้แสดงความยินดีกับการลงนามความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน อวยพรให้ความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่ายประสบความสำเร็จ และยืนยันจะทำหน้าที่ประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับทั้ง 2 หน่วยงานต่อไปต่อไป เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับทั้ง 2 หน่วยงานและทั้ง 2 ประเทศ
Shantou University มหาวิทยาลัยซ่านโถว หรือ มหาวิทยาลัยซัวเถา ตั้งอยู่ในเมืองซ่างโถว มณฑลกวางตุ้ง เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากมูลนิธิหลี่เจียเฉิง (Li Ka Shing Foundation) จึงทำให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มี 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตใต้ วิทยาเขตตะวันออก และวิทยาเขตตะวันตก โดดเด่นด้านการค้าระหว่างประเทศ จิ้นปู้มีความร่วมมืออย่างยาวนานด้านพัฒนาครูภาษาจีนชาวไทย และริเริ่มโครงการเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ตลอดจนถึงร่วมพัฒนาลักสูตรสำหรับนักศึกษาไทยด้วยกัน