ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ การขยายตัวของเศรษฐกิจ การเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ต่างมีผลมาจากการพัฒนากำลังคนของชาติ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติ และหนึ่งในนโยบายของไทย คือ การส่งเสริมให้เยาวชนในวัยเรียนมีทักษะและความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศ เพิ่มโอกาส และขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติ
ในช่วงเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนมา อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนทั้งเชิงนโยบาย บุคลากร สื่ออุปกรณ์การสอน และการพัฒนาศักยภาพของผู้สอนและผู้เรียน จากสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก สถานศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน ในทุกระดับการศึกษา รวมไปถึงต่อยอดสู่การปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ก้าวหน้า อาจารย์ไห่ หยาง และสถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ และภาคีเครือข่ายทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและการต่อยอดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการประกวดแข่งขันทักษะภาษาและวัฒนธรรมจีนนานาชาติ ประจำปี 2566 ขึ้น โดยกำหนดจัดกิจกรรมการแข่งขันหลากหลายประเภทครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และอุดมศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน รวมทั้งนักศึกษาสัญชาติไทย ในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
- เพื่อส่งเสริม กระตุ้นการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล
- เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนของผู้เรียนทุกระดับการศึกษาและทุกสังกัด
- เพื่อเปิดโอกาสและเป็นเวทีในการแสดงออกถึงการนำความรู้จากห้องเรียนสู่การปรับประยุกต์ใช้จริง
- เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายทางการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนของหน่วยงานในประเทศไทยและประเทศจีน
- เพื่อส่งเสริมกระตุ้นการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนภาษาจีนของครูผู้สอนและผู้เรียน
- ส่งเสริม กระตุ้นการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล
- ส่งเสริมทักษะความสามารถทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนของผู้เรียนทุกระดับการศึกษาและทุกสังกัด
- เป็นเวทีในการแสดงออกถึงการนำความรู้จากห้องเรียนสู่การปรับประยุกต์ใช้จริง
- เกิดภาคีเครือข่ายทางการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนหน่วยงานในประเทศไทยและประเทศจีน
- เกิดการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนภาษาจีนของครูผู้สอนและผู้เรียน
ลำดับ | รายการ | ประมาณการค่าใช้จ่าย |
---|---|---|
1 | การประชาสัมพันธ์ | 30,000 |
2 | ค่าสถานที่แข่งขัน | 80,000 |
3 | ค่าอุปกรณ์ระบบเครื่องเสียงและการถ่ายทอด | 80,000 |
4 | ค่าอาหาร (กรรมการ ผู้เข้าแข่งขัน) 200 คน | 63,000 |
5 | ค่าอาหารว่าง 200 คน (เช้า-บ่าย) | 16,000 |
6 | เงินรางวัล | 90,000 |
7 | โล่รางวัล | 30,000 |
8 | เกียรติบัตรพร้อมกรอบ | 15,000 |
9 | ค่าเดินทางคณะกรรมการ | 36,000 |
10 | เบ็ดเตล็ด | 30,000 |
11 | ค่าดำเนินการ | 30,000 |
รวม | 500,000 |
หมายเหตุ การแข่งขัน 6 รายการ แบ่งเป็น ประถมศึกษา /มัธยมศึกษาต้น-ปลาย/ปวช./ปวส./อุดมศึกษา
หน่วยงานหลัก
- โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ก้าวหน้า อาจารย์ไห่ หยาง
- สถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- Beijing Language and Culture University Press
หน่วยงานร่วม
- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี
- Nankai University
- คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
- วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Qujing Normal University
- Qingdao University of Science and Technology
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต
- สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- Shantou University
- Sichuan Engineering Vocational Technology College
- Tianjin University of Finance and Economics
- Tianjin University
- Yunnan Normal University
- Zhejiang University of Finance and Economics
- Zhejiang Ocean University
โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ก้าวหน้า อาจารย์ไห่ หยาง /สถาบันเส้นทางสายไหม จิ้นปู้ ประเทศไทย
- รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการกิจกรรมตลอดโครงการฯ
- รับผิดชอบออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ/เกียรติบัตร/โล่รางวัล
- รับผิดชอบเป็นหน่วยรับสมัคร ประสานงาน และตรวจสอบข้อมูลรายการแข่งขันทุกประเภท
- รับผิดชอบงบประมาณหลักของโครงการฯ
หน่วยงานร่วมจัด
- อนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สถาบัน/สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
- ร่วมวางแผนในการดำเนินการจัดการประกวดแข่งขันในทุกประเภทและระดับการแข่งขัน
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมในช่องทาง และเครือข่ายของหน่วยงานด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ
- สนับสนุนคณะกรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินการแข่งขัน
- สนับสนุนเจ้าหน้าที่และบุคลากรในการดำเนินการต่าง ๆ กรณีที่มีผู้เข้าแข่งมีจำนวนมาก
- สนับสนุนของที่ระลึก หรือ งบประมาน (ตามที่หน่วยงานท่านพิจารณาเห็นสมควร)
- โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ฯ ดำเนินการจัดทำโครงการฯ
- โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ฯ ดำเนินการสรรหาหน่วยงานความร่วมมือ
- โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ฯ สรุปหน่วยงานความร่วมมือจัดกิจกรรม
- โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ฯ นัดหมายประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
– กำหนดประเภทการแข่งขันและเกณฑ์การตัดสิน
– กำหนดวันเวลาการรับสมัครและแข่งขัน
– กำหนดคณะกรรมการตัดสิน - โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ฯ ร่วมกับหน่วยงานร่วมจัดฯ ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการฯ
- รับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขัน และดำเนินการแข่งขันในรูปแบบ Online และ On-Site
- สรุปผลการแข่งขัน มอบรางวัล
รอบคัดเลือก สมัครและส่งผลลงาน ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566
รอบตัดสิน ณ ห้องประชุมแมนดาริน AB โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ 21 พฤศจิกายน 2566
แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
- ประเภทประถมศึกษา : ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
- ประเภทมัธยมศึกษา : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ประเภทมัธยมศึกษา : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 - ประเภทการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ประเภทการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ประเภทอุดมศึกษา : ระดับอุดมศึกษา(สำหรับนักศึกษาที่ศึกษาในประเทศไทย)
300-500 คน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา สังกัดรัฐและเอกชน
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวดแข่งขัน
ผู้สมัครจะต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา /มัธยมศึกษา /ปวช. /ปวส. และอุดมศึกษา ครอบคลุมทั้งสถานศึกษาในระบบการศึกษา (สังกัด สช. อปท. สพฐ. และอาชีวศึกษา) การศึกษานอกระบบ ทั้งภาครัฐและเอกชน
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียน/นักศึกษาตามระดับชั้นที่ลงประกวดแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียน/นักศึกษาที่เรียนภาษาจีนจากสถานศึกษาที่ตนเองสังกัด และมีสัญชาติไทย
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันที่ได้ระบุไว้ในแต่ละประเภทการแข่งขันทุกประการ
- สถานศึกษา/อาจารย์ต้องรับรองสถานะภาพของนักเรียน/นักศึกษาที่เข้าประกวดแข่งขันโดยถือข้อมูล ปัจจุบัน ณ วันสมัครเข้าแข่งขัน
- ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 3 ทีมสุดท้ายในแต่ละประเภทการแข่งขันจะต้องเดินทางมาแข่งขันรอบตัดสิน ณ ห้องประชุมแมนดาริน A โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ หากผู้ผ่านการคัดเลือกท่านใด/ทีมใดไม่สามารถเดินทางมาแข่งขันรอบตัดสินได้ จะถือว่าสละสิทธิ์ และทางคณะกรรมการจะทำการเลื่อนอันดับผู้เข้าแข่งขัน/ทีมแข่งขันลำดับถัดไปเข้าสู่การแข่งขันรอบตัดสินแทน
รางวัลการแข่งขัน
ทุกประเภทการแข่งขันจะประกอบไปด้วย
รางวัลชนะเลิศ 1 : รางวัล เงินรางวัล + โล่รางวัล + เกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 : 1 รางวัล เงินรางวัล + โล่รางวัล + เกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 : 1 รางวัล เงินรางวัล + โล่รางวัล + เกียรติบัตร
รางวัลชมเชย : 7 รางวัล เกียรติบัตร
หมายเหตุ : เกียรติบัตรและโล่รางวัล ลงนามโดย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าแข่งขันและครูผู้ฝึกสอนทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์
ทางโรงเรียนภาษาจีน ก้าวหน้าฯ ขอมอบสิทธิพิเศษให้แก่ “ผู้เข้าร่วมประกวด” ทุกท่าน ดังนี้
(1) ผู้ที่ได้รับรางวัลทุกประเภท : ได้รับส่วนลดค่าเรียนหลักสูตรภาษาจีน 30% จากราคาปกติ
(2) ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกท่าน : ได้รับส่วนลดค่าเรียนหลักสูตรภาษาจีน 20% จากราคาปกติ
*(ทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ได้ส่วนลดการเรียนหลักสูตรออนไลน์และหลักสูตร On-Site)
**ทั้งนี้ทางโรงเรียนฯ ขอสงวนสิทธิ์สำหรับท่านที่ยืนยันการรับสิทธิพิเศษตามเวลาที่กำหนด
การแข่งขันการแสดงศิลปะวัฒนธรรมจีน เช่น การแสดงกังฟู การแสดงรำพัด การแสดงรำไทเก็ก เป็นต้น (ประถมศึกษาปีที่ 4-6)
กติกาการแข่งขัน
- เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละไม่เกิน 6 คน สถานศึกษาสามารถส่งผู้เข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ทีม
- ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานโดยมีความยาวไม่เกิน 5 – 7 นาที
- ผู้เข้าแข่งขันอัดวีดีโอคลิปผลงานส่ง ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566 โดยไม่ตัดต่อ
- ทีมที่เข้าสู่รอบตัดสิน 3 ทีม จะต้องเข้าร่วมแข่งขัน วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
- กำหนดให้ครูควบคุมทีมในรอบชิงชนะเลิศได้ไม่เกินทีมละ 2 คน
เกณฑ์การให้คะแนน
1 | ทักษะการเต้น ระเบียบร่างกาย และความพร้อมเพรียง | 25 คะแนน |
2 | การถ่ายทอดอารมณ์และบุคลิกภาพของผู้แสดง | 25 คะแนน |
3 | ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบท่า และรูปแบบการแสดง | 25 คะแนน |
4 | เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบ | 10 คะแนน |
5 | องค์ประกอบและภาพรวมการแสดง | 10 คะแนน |
6 | การรักษาเวลาตามกำหนด | 5 คะแนน |
การประกวดแข่งขันร้องและเต้นประกอบเพลงจีนกลาง
กติกาการแข่งขัน
- เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละไม่เกิน 6 คน สถานศึกษาสามารถส่งผลงานได้ไม่เกินสถานศึกษาละ 2 ผลงาน
- ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานโดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 5 นาที และไม่เกิน 7 นาที
- ผู้เข้าแข่งขันอัดวีดีโอคลิปผลงานส่ง ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566 โดยไม่ตัดต่อ
- ทีมที่เข้าสู่รอบตัดสิน 3 ทีม จะต้องเข้าร่วมแข่งขัน วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
- กำหนดให้ครูควบคุมทีมในรอบชิงชนะเลิศได้ไม่เกินทีมละ 2 คน
เกณฑ์การให้คะแนน
1 | การขับร้องมีความไพเราะ ชัดเจน | 20 คะแนน |
2 | การถ่ายทอดทางอารมณ์(ทีม) และการแสดงออกเหมาะสมกับบทเพลง | 30 คะแนน |
3 | การออกเสียงถูกต้อง ชัดเจน (นักร้อง) | 20 คะแนน |
4 | ความพร้อมเพียง คมชัด สวยงามและสร้างสรรค์ของท่าเต้น | 20 คะแนน |
5 | เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ | 10 คะแนน |
การประกวดแข่งขันพากย์ภาพยนตร์หรือการ์ตูน (ภาษาจีน)
กติกาการแข่งขัน
- (รอบคัดเลือก) เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละไม่เกิน 4-6 คน สถานศึกษาสามารถส่งผู้เข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ทีม
ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานมีความยาว 7-10 นาที อัดคลิปวีดีโอการพากย์ทั้งภาพและเสียงที่ชัดเจน (ไม่ตัดต่อ) และส่งผลงานพร้อมบทพากย์ให้กับคณะกรรมการตัดสิน ผ่านช่องทางการรับสมัคร ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566 - ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน 3 ทีม จะต้องเข้าร่วมแข่งขัน วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
- กำหนดให้ครูควบคุมทีมในรอบชิงชนะเลิศได้ไม่เกินทีมละ 2 คน
เกณฑ์การให้คะแนน
1 | ความน่าสนใจของเนื้อเรื่อง | 10 คะแนน |
2 | สำเนียง อักขระ และการออกเสียง | 30 คะแนน |
3 | ลีลาการแสดงออกในการพากย์ | 20 คะแนน |
4 | ความถูกต้องของภาษา | 30 คะแนน |
5 | ภาพรวมของการพากย์ | 10 คะแนน |
การแข่งขันสถาปัตยกรรมจีนในประเทศไทย (สถานที่/สิ่งก่อสร้าง/แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ)
กติกาการแข่งขัน
- เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละไม่เกิน 3 คน สถานศึกษาสามารถส่งผลงานได้สถาบันละ 2 ผลงาน
- ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งผลงานขนาดไม่ต่ำกว่า กว้าง 30cm x ยาว 30cm x สูง 30cm ไม่เกิน กว้าง 50cm x ยาว 50cm x สูง 50cm
- ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานโดยมีความยาวไม่เกิน 5 นาที (นำเสนอด้วยภาษาไทย)
- ผู้เข้าแข่งขันอัดวีดีโอคลิปนำเสนอผลงานและจัดส่งผลงานจริง ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566 สามารถตัดต่อได้
- ทีมที่เข้าสู่รอบตัดสิน 3 ทีม จะต้องเข้าร่วมแข่งขัน วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
- ชิ้นงานการประกวดแข่งขันทั้งหมดเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแล้วถือเป็นสมบัติของผู้จัดการแข่งขัน (ไม่สามารถนำกลับคืน)
- กำหนดให้ครูควบคุมทีมในรอบชิงชนะเลิศได้ไม่เกินทีมละ 2 คน
เกณฑ์การให้คะแนน
1 | ความคิดสร้างสรรค์และการสะท้อนสถาปัตยกรรม | 25 คะแนน |
2 | ความสวยงาม ความสมดุล ความมั่นคงของโครงสร้าง | 25 คะแนน |
3 | เทคนิครูปแบบความหน้าสนใจของการนำเสนอ | 25 คะแนน |
4 | วัสดุในการจัดทำโมเดล ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | 25 คะแนน |
**รอบคัดเลือก อัดวีดีโอคลิปนำเสนอผลงานและจัดส่งผลงานจริง มายัง ที่อยู่ : โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ก้าวหน้า อ.ไห่ หยาง 337 ชั้น 3 อาคารจามจุรีสแควร์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 เบอร์โทรติดต่อ 065-121-9901
การประกวดแข่งขันนำเสนอการสาธิตนำเสนองานบริการ
กติกาการแข่งขัน
- การแข่งขันประเภททีม ทีมละไม่เกิน 3 คน สถานศึกษาสามารถส่งผู้เข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ทีม
- ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์สาธิตนำเสนองานบริการโดยมีความยาว 3 – 5 นาที
- ผู้เข้าแข่งขันอัดวีดีโอคลิปผลงานส่ง ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566 สามารถตัดต่อได้
- ทีมที่เข้าสู่รอบตัดสิน 3 ทีม จะต้องเข้าร่วมแข่งขัน วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
- กำหนดให้ครูควบคุมทีมในรอบชิงชนะเลิศได้ไม่เกินทีมละ 2 คน
เกณฑ์การให้คะแนน
1 | ความคิดสร้างสรรค์ของเนื้อหา | 15 คะแนน |
2 | การนำเสนอมีความน่าสนใจ ลำดับเนื้อหามีความต่อเนื่อง | 15 คะแนน |
3 | ความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์ที่ใช้ | 15 คะแนน |
4 | ความเหมาะสมของภาษาตามระดับความรู้และทักษะของผู้เข้าแข่งขัน | 15 คะแนน |
5 | ความชัดเจนของน้ำเสียง สำเนียง การออกเสียง | 20 คะแนน |
6 | บุคลิกภาพ ความมั่นใจ และความเป็นธรรมชาติ | 20 คะแนน |
การประกวดแข่งขันนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ (ภาษาจีน)
กติกาการแข่งขัน
- การแข่งขันประเภทเดี่ยว/คู่ สถานศึกษาสามารถส่งผู้เข้าประกวดได้ไม่เกินสถาบันละ 2 คน/คู่
- ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์นำเสนอผลงานข่าวโดยมีความยาว 5 – 7 นาที โดยมีหัวข้อข่าว ดังนี้ 1. ข่าวการเมือง 2. ข่าวการศึกษา 3.ข่าวต่างประเทศ 4. 5. ข่าวเศรษฐกิจ 6. ข่าวกีฬา 4. 5. ข่าวเศรษฐกิจ 6. ข่าวกีฬา 7. ข่าวบันเทิง 8. ข่าวอาชญากรรม 9. ข่าวภูมิภาค (สามารถเลือกหัวข้อข่าวได้)
- ผู้เข้าแข่งขันอัดวีดีโอคลิปผลงานส่ง ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2566 โดยไม่ตัดต่อ
- ทีมที่เข้าสู่รอบตัดสิน 3 ทีม จะต้องเข้าร่วมแข่งขัน วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
- กำหนดให้ครูควบคุมทีมในรอบชิงชนะเลิศได้ไม่เกินทีมละ 2 คน
เกณฑ์การให้คะแนน
1 | การนำเสนอมีความน่าสนใจ ลำดับเนื้อหามีความต่อเนื่อง | 15 คะแนน |
2 | ความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์ที่ใช้ | 20 คะแนน |
3 | ความเหมาะสมของภาษาตามระดับความรู้และทักษะของผู้เข้าแข่งขัน | 15 คะแนน |
4 | ความชัดเจนของน้ำเสียง สำเนียง การออกเสียง | 25 คะแนน |
5 | บุคลิกภาพ ความมั่นใจ และความเป็นธรรมชาติ | 25 คะแนน |